วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ดับเบิลเบส

ดับเบิลเบส

ดับเบิลเบส (Double bass) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น สตริงเบส (String Bass) คอนทราเบส (Contra Bass) เบสวิโอล (Bass Viol) ดับเบิลเบสเป็นเครื่องดนตรีที่ที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส มีความสูงมาตรฐานประมาณ 74 นิ้ว ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์กับซอวิโอล (Viol) อย่างแท้จริง โดยสืบทอดมาจาก Violone ซอวิโอลขนาดใหญ่ (Big Viol) ซึ่งเล่นในช่วงเสียง 16 ช่วงเสียง (เสียงของมันจะต่ำกว่าโน้ตที่เขียน 1 ช่วงเสียง)

นักดับเบิลเบส ที่มีชื่อเสียง[แก้]

ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Concerto Op.3 ซึ่งเขานำออกแสดงครั้งแรกด้วยตัวเองในปี 1905
ส่วนนักดับเบิ้ลเบสคนอื่นๆ ซึ่งทำให้ดับเบิ้ลเบสเป็นที่รู้จัก ได้แก่ นักดับเบิ้ลเบสชาวอังกฤษ เช่น Eugene Cruft, Rodney Slatford และ Duncan Mctier ผู้ซึ่ง Maxwell Davies ได้อุทิศคอนแชร์โตให้กับเขา

ดับเบิลเบสกับดนตรีแจ๊ส[แก้]

อยู่ในศตวรรษที่ 18 ดับเบิ้ลเบสมักจะถูกใช้ในฐานะเครื่องดนตรี 16 ช่วงเสียงในวงเครื่องลม แต่ในปัจจุบันดับเบิ้ลเบสได้รับการยอมรับในฐานะของวงออร์เคสตร้าเครื่องลมและวงดนตรีแจ๊ส วงดนตรีแจ๊สมาตรฐาน 17 ชิ้นในยุคทศวรรษที่ 1930 หรือ 1940 มักจะบรรจุดับเบิ้ลเบสเอาไว้ในวง นอกจากนั้นยังมีแซกโซโฟน เปียโน กีตาร์ เบส และกลอง ปัจจุบันดับเบิ้ลเบสมักจะบรรเลงด้วยเทคนิค Pizzicato แต่บางครั้งจะใช้เทคนิคการตบเบส ซึ่งสายเบสจะไปกระทบกับฟิงเกอร์บอร์ด และขยับจากการเล่นทำนองเพียงอย่างเดียวไปเป็นนักเดี่ยวดับเบิ้ลเบสของดนตรีแจ๊สตามแบบของมันเอง
นักดับเบิ้ลเบสแจ๊สในยุคแรกๆ เช่น John Lindsay และ ‘Pop’ Foster หรือในชื่อจริงคือ (Murphy Foster) ทั้งคู่แสดงอยู่ในวงของ Louis Armstrong ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ส่วน Walter Page และ Charles Mingus คือนักดับเบิ้ลเบสที่โดดเด่นในทศวรรษที่ 1940 และนักดับเบิ้ลเบสรุ่นหลังๆ เช่น Ron Carter ประสบความสำเร็จในการใช้ Piccolo bass ขนาดเล็ก และยังได้เขียนตำราการเล่นดับเบิ้ลเบสในแบบแจ๊สขึ้นอีกด้วย
Gary Karr นักดับเบิ้ลเบสชาวอเมริกันซึ่งเกิดในตระกูลนักดับเบิ้ลเบส เขาประสบผลสำเร็จในการเชื่อมโลกดนตรีคลาสสิกและแจ๊สเข้าด้วยกัน ในฐานะนักดนตรีวงออร์เคสตร้าเขาปรากฏตัวร่วมกับวงดนตรีแชมเบอร์ระดับโลกหลายวง แต่ความสนใจของเขาได้ขยายไปสู่การเล่นเบสในบทเพลงร่วมสมัย และทำให้เขาได้รับมอบหมายให้ประพันธ์ผลงานเพลงอีกหลายบท
AGK bass1 full.jpg
ขอขอบคุณ

ไวโอลิน

ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตรา
ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียงประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว
ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)
โครงสร้างของไวโอลิน เรียงจากบนไปล่าง
  • หัวไวโอลิน (Scroll)
  • โพรงลูกบิด (Pegbox)
  • คอ (Neck)
  • สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
  • (Upper Bout)
  • เอว (Waist)
  • ช่องเสียง (F-holes)
  • หย่อง (Bridge)
  • (Lower Bout)
  • ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
  • หางปลา (Tailpiece)
  • ที่รองคาง (Chinrest)
ขนาดมาตรฐานของไวโอลินคือ ยาว 23.5 นิ้ว และ คันชักยาว 29 นิ้ว

การดูแลรักษาไวโอลิน

ไม้กับความชื้น (Wood and Water)
ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว
ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้

การบิดตัวของไม้ (Distortion)[แก้]

ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) หรือการดัดไม้
แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา

อุณหภูมิ (Temperature)[แก้]

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับแสงให้แปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่า

การเดินทาง (Travel) ขนส่ง (Shipping) การถือ (Carrying an instrument)[แก้]

ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย
เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง
ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาตญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้

การทำความสะอาด (Cleaning)[แก้]

การเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องและคันชักด้วยผ้านุ่มๆ สะอาดๆ หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร ใช้เศษผ้าชุบแอลกอฮอล์เพื่อขจัดการเกาะตัวของยางสนบนฟิงเกอร์บอร์ด และสายสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือระวังไม่ให้แอลกอฮอล์สัมผัสกับผิวของวานิช และควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพไวโอลินเป็นประจำทุกๆ ปี ช่างอาจจะปล่อยรอยคราบบางอย่างเอาไว้ และใช้น้ำยาเคลือบผิวทับลงไปบนคราบสกปรกโดยไม่จำเป็นต้องเอาออกก็ได้ กรดจากผิวหนังของคุณสามารถทำลายผิวของวานิชได้อย่างช้าๆ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวของวานิช

คันชัก (Bow)[แก้]

ควรจะจับคันชักบริเวณ Frog ในขณะดึงหางม้า (Hair) ให้ตึง เพราะจะช่วยลดแรงกดที่เกลียวสกรูทองเหลือง (Screw) ที่อยู่ข้างในโคนด้ามคันชัก และช่วยป้องกันไม่ให้เกลียวหวานได้
ในขณะที่คุณเล่นไวโอลินนั้น หางม้าที่อยู่ด้านข้างคันชักที่คุณลากลงมักจะชำรุดได้ง่าย ทำให้ความสมดุลของแรงดึงบนคันชักเสียไปจนอาจทำให้คันชักงอได้ ดังนั้นพยายามเปลี่ยนหางม้าบ่อยๆ และพยายามรักษาหนังหุ้มด้ามคันชัก (Pad หรือ Grip) ให้อยู่ในสภาพดี ถ้านิ้วโป้งของคุณไปเสียดสีกับด้ามคันชักบ่อยๆ จะทำให้คันชักได้รับความเสียหายเช่นกัน พยายามตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และควรให้ความเอาใจใส่ปลายคันชัก (Tip) เป็นพิเศษ

ขอขอบคุณ

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

กีตาร์เบส

เบส เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า) , electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น
เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่
เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โน้ตเบส









เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น

ประวัติ

เมื่อกล่าวถึง Bassline เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความ สำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano, alto, tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และออร์เคสตรา เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรกในโลก
ต่อมาเมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime (ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ทูบาในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ
เมื่อเพลงแจ๊ซมีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลงแจ๊ซ เช่น Duke Ellington, Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 จังหวะ ใน 1 ห้องเพลง เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass จำนวน 7 ตัว, เปียโน, กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบส
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Precision bass
ต่อมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Clarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์ Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของเสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น

Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bassการผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery, Shifti Henri, Dave Myers
วงของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnson และเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beat เมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขา
นอกจากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."
ขอขอบคุณ

Google ทำสำเร็จ! พัฒนา AI ที่สามารถคาดเดาความเสี่ยงของอาการหัวใจวายได้ เพียงแค่สแกนดวงตา



อ้างอิง https://www.sanook.com/hitech/1445817/

ดูเหมือนว่า ดวงตาจะมีประโยชน์มากกว่าการใช้มองเสียแล้ว เมื่อกลุ่มนักวิจัยจาก google ได้พบความลับของดวงตา ที่สามารถบอกสุขภาพของคนเราได้อีกด้วย


img_1519280653_610690815600

อ้างอิง https://www.sanook.com/hitech/1445817/


สื่อ The Washington Post เผยว่า กลุ่มนักวิจัยจาก Google และ Verily ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ ได้ประกาศความสำเร็จในการสร้างอัลกอริทึมในการพยากรณ์ว่า คน ๆ นั้นมีความดันโลหิตสูง หรือเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายหรือไม่ เพียงแค่สแกนดวงตาเท่านั้น
โดยกลุ่มนักวิจัยจาก Google ได้ทำการฝึกสอนอัลกอริทึมด้วยรูปภาพของดวงตาจากผู้ป่วยมากกว่า 280,000 ราย ซึ่งถือว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้อัลกอริทึมดังกล่าว สามารถจดจำได้ว่า ดวงตาของผู้ป่วยจะมีรูปแบบเช่นใด
จากความสำเร็จของอัลกอริทึมที่ทาง Google พัฒนามานี้ ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีกับการนำมาพัฒนาต่อเกี่ยวกับด้านการแพทย์ในอนาคต ซึ่งในตอนนี้ อัลกอริทึมดังกล่าวยังไม่สามารถลงสนามจริงได้ เนื่องจากมีความแม่นยำอยู่ที่ 70% เท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องเก็บข้อมูลและเรียนรู้อีกมากจนกว่าจะสามารถนำไปใช้ได้จริง
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :www.techmoblog.com